วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น


ผู้เขียน
นางสาวฐิตินันท์ บุญประสาร
นักศึกษาสาขาการประเมิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรวมชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สำหรับเด็กต่างชั้น ต่างกลุ่มอายุ ซึ่งมีความสามารถต่างกัน แต่นำมาจัดการเรียนรู้พร้อมกันโดยมักจะจัดรวมกันเป็นชั้นเดียวโดยครูมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
การจัดชั้นเรียนในโรงเรียนคละชั้น
อมรรัตน์ วัฒนาธร(2551 : 3) กล่าวว่า ในการจัดชั้นเรียนแบบคละชั้นควรคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐาน ภูมิหลังของครูและเหตุผลในการจัดเด็กแต่ละชั้นมารวมกันกัโดยมีแนวคิดทางวิชาการที่สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็ก คือให้จัดชั้นเรียนที่เด็กมีระดับการเรียนรู้ใกล้เคียงกันไว้ด้วย เช่น ป.1 รวมกับ ป.2 ป.3 I รวมกับ ป .4 เป็นต้น ไม่ควรจัดเด็กต่างระดับชั้นที่ห่างกันมากมาอยุ่รวมกัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคละชั้น
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ 2545 : 12-13 กล่าวถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมไว้ดังนี้
2.5.1 รูปแบบการจัดกิจกรรม มี 5 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่1 แบบแยกชั้นเรียน เป็น 6 ชั้น หรือ 6 ระดับ คือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ใช้ในรายวิชาที่เป็นทักษะและมีเนื้อหาสาระที่เป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
รูปแบบที่ 2 แบบแยกชั้นเรียนบางชั้นและรวมในบางชั้น ใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา หรือวิทยาศาสตร์ โดยจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.2-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4-5 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.6 1 ห้องเรียน
หรืออาจจัดในรูปแบบดังต่อไปนี้
นักเรียนชั้น ป.1 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.2-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.5-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
รูปแบบที่ 3 การรวมชั้นคู่ อาจใช้ได้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สุขศึกษาและพละศึกษา โดยจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1-2 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.3-4 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.5-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
รูปแบบที่ 4 การรวม 3 ชั้น ใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา โดยการจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
รูปแบบที่ 5 แบบแยกชั้นบางชั้น รวมชั้นคู่ และรวม 3 ชั้น อาจชั้นกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยีหรือศิลปะ โดยจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.2-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
การจัดการเรียนการสอน อาจจัดตามรูปแบบใดขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ จำนวนนักเรียนแต่ละระดับชั้น จำนวนนักเรียน และความพร้อมของบุคลากรทรัพยาการเป็นสำคัญ
สรุป
การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำนักเรีนต่างชั้น ต่างระดับมาเรียนรู้อยู่ในห้องเดียวกัน การที่จะจัดชั้นเรียนรูปแบบใดขึ้นอยู่กับปัจจัยในด้านบุคลากร อุปกรณ์ อาคารสถานที่และควรคำนึงถึงภูมิหลัง ข้อมูลพื้นฐานและเหตุผลในการนำนักเรียนมาเรียนรวมกนด้วย

อ้างอิง
โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร (2550) การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร กระบี่ กลุ่มงานบริหารวิชาการ โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์และคณะ (2545) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนรวมชั้น(การปฏิรูปโรงเรียนและกระบวนการเรียนรู้ ) กรุงเทพมหานคร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2542) "นวัตกรรมทางการประถมศึกษาไทย: การจัดการเรียนการสอนแบบรวมชั้น" วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ 1, 1 (กันยายน-ธันวาคม) : 30-35