วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น


ผู้เขียน
นางสาวฐิตินันท์ บุญประสาร
นักศึกษาสาขาการประเมิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรวมชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สำหรับเด็กต่างชั้น ต่างกลุ่มอายุ ซึ่งมีความสามารถต่างกัน แต่นำมาจัดการเรียนรู้พร้อมกันโดยมักจะจัดรวมกันเป็นชั้นเดียวโดยครูมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
การจัดชั้นเรียนในโรงเรียนคละชั้น
อมรรัตน์ วัฒนาธร(2551 : 3) กล่าวว่า ในการจัดชั้นเรียนแบบคละชั้นควรคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐาน ภูมิหลังของครูและเหตุผลในการจัดเด็กแต่ละชั้นมารวมกันกัโดยมีแนวคิดทางวิชาการที่สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็ก คือให้จัดชั้นเรียนที่เด็กมีระดับการเรียนรู้ใกล้เคียงกันไว้ด้วย เช่น ป.1 รวมกับ ป.2 ป.3 I รวมกับ ป .4 เป็นต้น ไม่ควรจัดเด็กต่างระดับชั้นที่ห่างกันมากมาอยุ่รวมกัน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคละชั้น
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ 2545 : 12-13 กล่าวถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมไว้ดังนี้
2.5.1 รูปแบบการจัดกิจกรรม มี 5 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่1 แบบแยกชั้นเรียน เป็น 6 ชั้น หรือ 6 ระดับ คือตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ใช้ในรายวิชาที่เป็นทักษะและมีเนื้อหาสาระที่เป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
รูปแบบที่ 2 แบบแยกชั้นเรียนบางชั้นและรวมในบางชั้น ใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา หรือวิทยาศาสตร์ โดยจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.2-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4-5 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.6 1 ห้องเรียน
หรืออาจจัดในรูปแบบดังต่อไปนี้
นักเรียนชั้น ป.1 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.2-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.5-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
รูปแบบที่ 3 การรวมชั้นคู่ อาจใช้ได้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สุขศึกษาและพละศึกษา โดยจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1-2 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.3-4 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.5-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
รูปแบบที่ 4 การรวม 3 ชั้น ใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา โดยการจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
รูปแบบที่ 5 แบบแยกชั้นบางชั้น รวมชั้นคู่ และรวม 3 ชั้น อาจชั้นกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยีหรือศิลปะ โดยจัดดังนี้
นักเรียนชั้น ป.1 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.2-3 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
นักเรียนชั้น ป.4-6 เรียนร่วมกัน 1 ห้องเรียน
การจัดการเรียนการสอน อาจจัดตามรูปแบบใดขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ จำนวนนักเรียนแต่ละระดับชั้น จำนวนนักเรียน และความพร้อมของบุคลากรทรัพยาการเป็นสำคัญ
สรุป
การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำนักเรีนต่างชั้น ต่างระดับมาเรียนรู้อยู่ในห้องเดียวกัน การที่จะจัดชั้นเรียนรูปแบบใดขึ้นอยู่กับปัจจัยในด้านบุคลากร อุปกรณ์ อาคารสถานที่และควรคำนึงถึงภูมิหลัง ข้อมูลพื้นฐานและเหตุผลในการนำนักเรียนมาเรียนรวมกนด้วย

อ้างอิง
โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร (2550) การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร กระบี่ กลุ่มงานบริหารวิชาการ โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์และคณะ (2545) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนรวมชั้น(การปฏิรูปโรงเรียนและกระบวนการเรียนรู้ ) กรุงเทพมหานคร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2542) "นวัตกรรมทางการประถมศึกษาไทย: การจัดการเรียนการสอนแบบรวมชั้น" วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ 1, 1 (กันยายน-ธันวาคม) : 30-35

เทคนิคการสร้างเครื่องมือวัดผล

เทคนิคการสร้างเครื่องมือวัดผล
การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นมากในการจัดการศึกษา ที่มักถูกมองข้ามไปโดยไม่ให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจังจากครูผู้สอนโดยตรง หรือแม้แต่ด้านการบริหารจัดการศึกษาและในสถานศึกษา จึงทำให้การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลไม่ได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้เรียนจึงขาดโอกาสในการได้รับการตรวจสอบความรู้ความสามารถที่แท้จริงจากวิธีการและเครื่องมือการวัดผลที่ดี ผลของการวัดประเมินคุณภาพไม่สามารถยืนยันความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้ จึงเป็นสาเหตุให้การนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขาดประสิทธิภาพ
เพื่อให้ได้เทคนิคแนวทางในการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้มาเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้าราชการครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาเรียนรู้เรื่องการสร้างเครื่องมือวัดผลความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดผล
1. ครื่องมือวัดผล
2. การสร้างเครื่องมือวัดผล
3. ตาราง Test Blueprint ของเครื่องมือ
4. การเขียนข้อคำถาม
5. การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น
6. การทดลองใช้(Try – out)และการปรับปรุงแก้ไข
7. การตรวจให้คะแนน
8. การใช้จริง
9. การตรวจให้คะแนน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อคำถามและเครื่องมือวัดผล
(ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน,2545)
งานวัดและประเมินผลการศึกษา กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ที่มา http://km.naraed2.org/modules.php?name=News&file=article&sid=312

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง

การประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง
ความหมาย
การประเมินผลตามสภาพจริง หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่ ผู้เรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่อผู้เรียน การประเมินจากสภาพจริงไม่เน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงานของนักเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกจากการปฏิบัติจากสภาพจริงในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยที่ผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นพบ ผลิตความรู้ และได้ฝึกปฏิบัติจริง
ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง
การประเมินผลเน้นการประเมินพัฒนาการของนักเรียนและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน การวัดและทดสอบจะครอบคลุมสภาพจริงและสอดคล้องกับการแสดงออกของนักเรียนทั้งกระบวนการและผลผลิต อาจจะประเมินจากการทำแฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) การบันทึกความเห็น การจัดทำรายงานผลงานที่ทำ นิทรรศการและโครงงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทักษะการใช้ภาษา และวิชาต่างๆ รวมทั้งการทดสอบในรูปแบบต่างๆ การประเมินผล จะเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน ครู และผู้ปกครอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียนแต่ละคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสังคมในทศวรรษหน้า โดยเฉพาะความสามารถในการสื่อสาร ความร่วมมือและการศึกษาอย่างมีวิจารณญาณ ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้
1. ต้องเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. เน้นให้เห็นพัฒนาการอย่างเด่นชัด
3. ให้ความสำคัญกับจุดเด่นของผู้เรียน
4. ต้องตอบสนองกับหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ตามสภาพที่เป็นจริง
5. มีพื้นฐานของสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริง
6. มีพื้นฐานบนการแสดงออกจริง
7. สอดคล้องกับการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นจริง
8. มีการจัดการเรียนการสอนโดยมีการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก
9. ต้องเน้นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
10. ตอบสนองได้กับทุกบริบท และเนื้อหาสาระ
11. ตอบสนองการเรียนรู้และความสามารถของนักเรียนอย่างกว้างขวาง
12. เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง ผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งบุคคลในวิชาชีพอื่นๆ
แนวทางการนำวิธีการประเมินผลตามสภาพจริงไปใช้ในการเรียนการสอน
1.ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการประเมินผลตามสภาพจริงในการริเริ่มแนวคิดใหม่ๆ ในการประเมินผลการเรียนรู้ อาจเริ่มโดยการศึกษาเอกสาร เข้ารับการอบรม ดูวิดีทัศน์ ฟังเทปและศึกษาดูงานในโรงเรียน โดยทั่วไปครูมักจะมองภาพการสอน และการเรียนรู้ของเด็กกับการประเมินผลในลักษณะเป็นงานที่แยกออกจากกัน โดยเริ่มจากครูจะเป็นผู้ให้ความรู้ข้อมูลต่างๆ ให้นักเรียนได้เรียนรู้แล้วจึงทำการประเมินผล แต่ในกระบวนการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งช่วยพัฒนาการสอนและการเรียนรู้นั้น จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
2.เริ่มให้ผู้เรียนทำแฟ้มสะสมงานและใช้วิธีประเมินผู้เรียนที่หลากหลายในเนื้อหาสาระบางส่วนที่มีความมั่นใจ การประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริงนั้น ครูสามารถนำไปใช้ได้กับทุกวิชาในชั้นเรียนและใช้ได้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนในทุกด้าน โดยครูควรจะเริ่มต้นอย่างน้อยในบางเนื้อหาวิชาที่ตนเองรู้สึกสบายใจและมั่นใจ เมื่อค้นพบว่ามีความชำนาญและสามารถพัฒนาได้อย่างดีแล้ว จึงขยายกว้างออกไปสู่เนื้อหาอื่นๆ ต่อไป
3.ปรับปรุงและพัฒนา เมื่อครูได้นำวิธีการประเมินตามสภาพที่เป็นจริงมาใช้สักระยะหนึ่ง ครูควรปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นระบบยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
4.จัดทำตารางกำหนดเวลาในการสะท้อนความคิดเห็นเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม และรายจุดประสงค์โดยครูต้องให้เวลาที่จะทบทวนชิ้นงานที่ได้ประเมินจาก การบันทึก การสังเกต การสำรวจรายการ รายงานการประชุม โครงการของนักเรียน ผลผลิต แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
5.การนำกระบวนการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริงไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมในขั้นนี้ ผู้ประเมินต้องมีความรู้ในกระบวนการจัดการ โครงสร้างภายในของการประเมินผลจากสภาพที่เป็นจริง ความเข้าใจในข้อจำกัด และรับทราบถึงบทบาทของการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริงในกระบวนการประเมินโดยรวมทั้งหมด สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง
ในการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริงนั้น มีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
1.สิ่งที่ต้องการประเมิน ควรประกอบด้วย
การแสดงออกถึงผลของความรู้
ความคิด ความสามารถ ทักษะและเจตคติ
กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการทำงาน
ผลผลิต ผลงาน
2. ระยะเวลาที่ประเมิน ควรประเมินอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาตามสภาพที่เป็นจริง
3. เครื่องมือที่ใช้ประเมิน ควรประกอบด้วย
แบบประเมินผลงาน โครงการหรือโครงงาน
แบบทดสอบในลักษณะต่างๆ
แบบบันทึกย่อย
แบบบันทึกแสดงความรู้สึก
แบบแสดงความคิดเห็น
แบบบันทึกการสังเกต
แบบบันทึกการสัมภาษณ์
แบบบันทึกของผู้เรียน ครู ผู้ปกครองและกลุ่มเพื่อน
แฟ้มสะสมผลงาน
หลักฐาน ที่แสดงถึงร่องรอยจากการเรียน
4.ผู้ประเมิน ควรประกอบด้วย
นักเรียนประเมินตนเอง เพื่อน/กลุ่มเพื่อน· ผู้ปกครอง· และผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ครู·
กล่าวโดยสรุป การประเมินผลตามสภาพที่จริงเป็นการประเมินผลการกระทำ การแสดงออกของนักเรียนหลายๆ ด้านตามสภาพความเป็นจริง ทั้งในและนอกห้องเรียนหรือสถานที่อื่นๆ สามารถกระทำได้ตลอดเวลากับทุกสถานการณ์ มีการใช้ข้อมูลและวิธีการที่หลากหลายในการประเมิน เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจงาน การรายงานตนเองของนักเรียน บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องและการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น